รับ ทํา work permit คืออะไรกันแน่ 

0 Comments

รับ ทำ work permit

อาจจะกล่าวได้ว่าการรับ ทํา work permit นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องการทำงานในประเทศไทย หากว่าไม่มีใบอนุญาตก็ผิดกฎหมายได้นั่นเอง อย่างไรก็ดีหากว่าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการมองหาผู้ รับ ทํา work permit  รวมไปถึงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการทำใบอนุญาตทำงานที่น่ารู้ มาดูข้อมูลไปพร้อมๆ กันว่ารับ ทํา work permit คืออะไรกันแน่ 

work permit คืออะไร เรื่องที่ทุกคนควรรู้ 

สำหรับ  work permit แม้จะเป็นคำพูดที่ทุกคนเคยได้ยินกันจนชินหู แต่ก็มีไม่น้อยเลยที่หลายๆ คนจะลืมคิดหาความหมาย โดยสิ่งนี้ก็คือใบอนุญาตทำงานหรือใบอนุญาตประกอบอาชีพของคนต่างชาติ จัดได้ว่าเป็นเอกสารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกรณีที่เดินทางไปทำงานประเทศอื่นๆ สำหรับการทำธุรกิจ หรือกิจการ รวมถึงกรณีของการเป็นลูกจ้างตามกำหนดระยะเวลาอีกด้วย โดยนายจ้างในแต่ละประเภทจะทำหน้าที่ดำเนินการขอให้ และจะต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงแรงงานของแต่ละประเทศ เมื่อหมดอายุก็ต่อได้ใหม่ทันที อย่างไรก็ดีในกรณีที่ลูกจ้างเปลี่ยนที่ทำงานหรือเปลี่ยนนายจ้างก็สามารถดำเนินการขอใหม่ได้ 

work permit มีกี่ประเภท 

1.ใบอนุญาตทำงาน (ตท.๑๑) 

สำหรับใบอนุญาตทำงานหรือที่เรียกกันว่า WP.11  จะมีลักษณะภายนอกได้แก่เล่มสีน้ำเงินที่มีความกว้าง 12.7 เซนติเมตรและยาว 8.89 เซนติเมตร ซึ่งจะใช้สำหรับนักลงทุน แรงงานฝีมือและผู้เชี่ยวชาญ แรงงานนำเข้าตาม MOU หรือแรงงานที่ผ่านการตรวจสอบสัญชาติรวมไปถึงกิจการแปรรูปสัตว์น้ำที่จะใช้เอกสารคู่กับบัตรแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติตามข้อ 5  

2.ใบอนุญาตทำงาน (ตท.๑๕) 

สำหรับใบอนุญาตทำงานประเภทนี้เรียกกันว่า WP.15 ซึ่งก็จะมีแผ่นเป็นสีเหลือง กว้าง 14 เซนติเมตรและยาว 21 เซนติเมตรนั่นเอง โดยจะใช้สำหรับแรงงานไปกลับ หรือมาทำตามฤดูกาลตามมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว  

3.ใบอนุญาตทำงาน (ตท.๑๑) 

ในขณะที่ใบอนุญาตทำงาน WP.11 แม้จะชื่อเหมือนกับแบบแรกที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นก็ตาม แต่ในเล่มนี้จะมีสีส้มและมีความกว้าง 12.7 เซนติเมตร ยาว 8.89 เซนติเมตร โดยใช้เฉพาะแรงงานในกิจการการประมงทะเลทุกกลุ่ม แต่จะยกเว้นแรงงานประมงทะเลในข้อ 4 ได้อีกด้วย 

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นนี้ชาวต่างชาติจะต้องยื่นขอวีซ่าแบบ Non B ด้วย และต้องขอใบอนุญาตทำงานด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถทำงานในประเทศไทย และคนที่ต้องการไปทำงานประเทศอื่นๆ ก็จะใช้หลักการนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อชาวต่างชาติที่ดำเนินการขอวีซ่ามาแล้วแต่ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ก็ยื่นได้ที่กระทรวงแรงงานในเวลา 90 วัน หลังจากที่เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว และเป็นไปตามกฎหมายของการพำนักในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวนั่นเอง 

Tags: